กฎกระทรวง ว่าด้วยการแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิด ฐานสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือสมคบกันกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๑/๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑* การขออนุมัติแจ้งข้อหาในกรณีที่ศาลออกหมายจับแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบรายงานหัวหน้า พนักงานสอบสวนและให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนยื่นคำขออนุมัติแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดดังกล่าว ต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายโดยเร็ว
การขออนุมัติแจ้งข้อหาตามวรรคหนึ่ง หากเป็นกรณีที่เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เป็นผู้ดําเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานจนทราบรายละเอียดแห่งความผิดและรู้ตัวผู้กระท่าความผิด ให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. มีอํานาจยื่นคําขออนุมัติแจ้งข้อหาต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมาย ก่อนร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนต่อไป
*ข้อ ๑ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ว่าด้วยการแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทําความผิดฐานสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือสมคบกันกระทําความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๑๙ ก หน้า ๑๔ วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗
ข้อ ๒ คำขอตามข้อ ๑ ต้องระบุชื่อผู้กระทำความผิดซึ่งประสงค์จะขอแจ้งข้อหาให้ชัดแจ้ง พร้อมแนบเอกสารหรือหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สถานภาพส่วนบุคคลของผู้กระทำความผิด เช่น ประวัติบุคคลหรือประวัติอาชญากร
(๒) รายงานการสืบสวนพฤติการณ์สำคัญที่เป็นมูลเหตุให้ทำการสืบสวน ข่าวสาร แหล่งที่มา วันเวลาเริ่มสืบสวนพฤติการณ์ที่ผ่านมา และพฤติการณ์การกระทำความผิดในคดีนี้
(๓) พยานหลักฐานที่ยืนยันการกระทำความผิดในข้อหาที่จะขออนุมัติ
(๔) รายละเอียดในคดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด เช่น ข้อหาผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด
(๕) สำเนาหมายจับ
ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับกุมในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฐานอื่น หากพนักงาน สอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนเห็นว่าการกระทำของผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมในคดีนั้นเป็นความผิด ตามมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดด้วย ให้พนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบรายงานหัวหน้าพนักงานสอบสวนและให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนยื่นคำขออนุมัติแจ้งข้อหา แก่ผู้กระทำความผิดดังกล่าวต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายโดยเร็ว
ให้นำความในข้อ ๒ มาใช้บังคับแก่การยื่นคำขออนุมัติแจ้งข้อหาตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
ข้อ ๔ ในกรณีที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีแล้ว ถ้าพนักงานอัยการเห็นควรแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดเพิ่มเติม ให้หัวหน้าพนักงานอัยการ หัวหน้าองค์คณะหรือหัวหน้าคณะทำงาน ซึ่งมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าพนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่ผู้กระทำความผิดดังกล่าว
คำสั่งของพนักงานอัยการตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการอนุมัติให้แจ้งข้อหาเพื่อดำเนินคดี ตามมาตรา ๑๑/๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔
ข้อ ๕ ในการพิจารณาคำขออนุมัติแจ้งข้อหาเพื่อดำเนินคดีนั้น เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่ เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายอาจเรียกให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้ทำการสืบสวน พนักงาน สอบสวน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติม หรือแต่งตั้งบุคคลหรือ คณะบุคคล หรืออาจเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคล เพื่อพิจารณา ตรวจสอบกลั่นกรองพยานหลักฐานในคำขออนุมัติแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๕ หรือ มาตรา ๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด เพื่อประกอบการพิจารณาได้
ข้อ ๖ ให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายพิจารณาคำขออนุมัติ แจ้งข้อหาให้แล้วเสร็จภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นจะขยายเวลาออกไป อีกได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินห้าวันทำการ โดยต้องบันทึกเหตุจำเป็นดังกล่าวไว้ด้วย เมื่อเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายได้มีคำสั่งประการใดแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขออนุมัติทราบโดยเร็วหรือจะให้ผู้ขออนุมัติลงลายมือชื่อรับทราบในคำสั่งนั้นก็ได้
ข้อ ๗ ในกรณีที่ได้รับอนุมัติให้แจ้งข้อหาจากเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมาย ให้พนักงานสอบสวนรีบดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัติ แล้วรายงานการแจ้งข้อหาให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายทราบโดยเร็ว ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามวันนับแต่วันที่ ได้ดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัตินั้น
ในกรณีไม่สามารถดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัติได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง อนุมัติ ให้รายงานคดีตามคำสั่งอนุมัติให้แจ้งข้อหาให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายทราบโดยเร็ว ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามวันนับแต่วันที่ครบกำหนดดังกล่าว
ในกรณีได้รับอนุมัติให้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมจากพนักงานอัยการ ให้พนักงานสอบสวนรายงาน การแจ้งข้อหาพร้อมทั้งส่งสำเนาสำนวนคดีดังกล่าวให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายทราบทันที
ข้อ ๘ ในการรายงานตามข้อ ๗ ให้รายงานด้วยว่ามีหรือได้รับข้อมูลหรือหลักฐานเกี่ยวกับ ทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ที่ถูกจับกุม หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดดังกล่าวด้วยหรือไม่อย่างใด
การรายงานข้อมูลหรือหลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ทุกครั้งที่ได้รับ ข้อมูลหรือหลักฐาน
ข้อ ๙ คำขออนุมัติ หนังสือแจ้งคำสั่งอนุมัติ และการรายงานตามกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไป ตามแบบที่สำนักงาน ป.ป.ส. กำหนด การขออนุมัติ การอนุมัติ และการรายงานตามกฎกระทรวงนี้อาจดำเนินการโดยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ได้ตามที่เลขาธิการ ป.ป.ส. ประกาศกำหนด
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
สมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓* บทบัญญัติหรือวิธีพิจารณาใดซึ่งพระราชบัญญัตินี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติหรือวิธีพิจารณาแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง หรือกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔* ห้ามมิให้นำบทบัญญัติในหมวด ๓ วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น และหมวด ๔ อุทธรณ์และฎีกา แห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแก่คดีเยาวชนและครอบครัว ตามกฎหมายว่าด้วยศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
มาตรา ๕* ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
“พนักงานอัยการ” หมายความรวมถึงอัยการทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร
“ยาเสพติด” หมายความว่า ยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
“กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด” หมายความว่า ประมวลกฎหมายยาเสพติด
“ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด” หมายความว่า ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติด
“คณะกรรมการ ป.ป.ส.” หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
“กรรมการ ป.ป.ส.” หมายความว่า กรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
“เจ้าพนักงาน ป.ป.ส.” หมายความว่า เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
“เจ้าพนักงาน” หมายความว่า เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. และพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
“ศาลอุทธรณ์” หมายความว่า ศาลอุทธรณ์ซึ่งมิใช่ศาลอุทธรณ์ภาค
มาตรา ๖* ให้ประธานศาลฎีกา นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจออกระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของตน
กฎกระทรวงหรือระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๗ ในกรณีจําเป็นและเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานผู้ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี มีอํานาจปฏิบัติการอําพรางเพื่อการสืบสวนความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
การอําพราง หมายความว่า การดําเนินการทั้งหลายเพื่อปิดบังสถานะหรือวัตถุประสงค์ของการดําเนินการโดยลวงผู้อื่นให้เข้าใจไปทางอื่น หรือเพื่อมิให้รู้ความจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
ในกรณีจําเป็นเร่งด่วนและมีเหตุอันสมควร ให้เจ้าพนักงานมีอํานาจปฏิบัติการอาพรางเพื่อการสืบสวนความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดไปก่อนแล้วรายงานผู้มีอํานาจอนุญาตตามวรรคหนึ่งโดยเร็ว
การอนุญาตและการอําพรางตามวรรคหนึ่ง รวมทั้งการดําเนินการตามวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ในกฎกระทรวงดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีมาตรการควบคุมและตรวจสอบการใช้อํานาจด้วย
การกระทําและพยานหลักฐานที่ได้มาจากการอําพรางของเจ้าพนักงานตามมาตรานี้ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
มาตรา ๘ ในกรณีจําเป็นและเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานผู้ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี มีอํานาจครอบครองหรือให้มีการครอบครองยาเสพติดภายใต้การควบคุมทั้งในและนอกราชอาณาจักรเพื่อการสืบสวนความผิดตาม กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดได้
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้ดํารงตําแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องนั้น โดยในการมอบหมายให้คํานึงถึงระดับความรับผิดชอบของผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย
การครอบครองยาเสพติดภายใต้การควบคุม หมายความว่า การครอบครองชั่วคราวซึ่งยาเสพติดเพื่อส่งต่อแก่ผู้ต้องสงสัยว่ากระทําความผิดซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับ คําสั่ง หรือการสะกดรอยติดตามของเจ้าพนักงาน ทั้งนี้ การส่งต่อนั้นให้รวมถึงการนําเข้าหรือส่งออกเพื่อการส่งต่อในหรือนอกราชอาณาจักรด้วย
การขออนุญาต การอนุญาต การครอบครอง ระยะเวลาในการครอบครองหรือการให้มีการครอบครองยาเสพติดภายใต้การควบคุม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ในกฎกระทรวงดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีมาตรการควบคุมและตรวจสอบการใช้อํานาจด้วย
การกระทําและพยานหลักฐานที่ได้มาจากการกระทําของเจ้าพนักงานตามมาตรานี้ ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
มาตรา ๙ ในกรณีที่เจ้าพนกงานขอให้บุคคลใดซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเฉพาะในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้บุคคลนั้นไม่ต้องรับผิดทางแพ่งเป็นการส่วนตัวในบรรดาความเสียหายที่เกิดขึ้น เว้นแต่จะได้กระทําด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แต่ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการ
มาตรา ๑๐ ในกรณีจําเป็นและเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานอาจร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ดําเนินการให้ได้มาซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดและการดําเนินคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้รับการร้องขอดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจดําเนินการตามคําร้องขอโดยปฏิบัติตามวิธีการในกฎหมายดังกล่าว
เจ้าพนักงานผู้ใดเปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ได้มาตามวรรคหนึ่งให้แก่บุคคลอื่นอันมิใช่เพื่อประโยชน์ในการดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู็อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๑๑/๑ เพื่อดำเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้กรรมการ ป.ป.ส. เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใดๆ เพื่อตรวจค้นเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่ามียาเสพติด หรือมีบุคคลซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหลบซ่อนอยู่ หรือมีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บุคคลนั้นจะหลบหนีไป หรือทรัพย์สินนั้นจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม
(๒) ค้นบุคคลหรือยานพาหนะใดๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(๓) ค้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(๔) จับกุมบุคคลใดๆ ที่กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
(๕) ยึดหรืออายัดยาเสพติดที่มีไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือที่ได้รับมาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
(๖) ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นกรณีเร่งด่วน ก่อนดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินแล้วรายงานให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภายในเจ็ดวันเพื่อดำเนินการตาม (๗) ต่อไป
(๗) ตรวจสอบทรัพย์สิน ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายยาเสพติดหรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมอบหมาย แล้วแต่กรณี
(๘) สอบสวนผู้ต้องหาในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
(๙) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดๆ หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยราชการใดๆมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งบัญชี ข้อมูล เอกสาร หรือวัตถุใดๆ มาเพื่อตรวจสอบหรือประกอบการพิจารณา
การใช้อำนาจตามวรรคหนึ่ง (๑) ให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผู้ค้นปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการ ป.ป.ส. กำหนด และแสดงความบริสุทธิ์ก่อนการเข้าค้น รายงานเหตุผล และผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป และบันทึกเหตุอันควรสงสัยตามสมควรและเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองเคหสถาน หรือสถานที่ค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผู้ค้นส่งมอบสำเนาหนังสือนั้นให้แก่ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ และหากเป็นการเข้าค้นในเวลากลางคืนภายหลังพระอาทิตย์ตก เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผู้เป็นหัวหน้าในการเข้าค้นต้องเป็นข้าราชการพลเรือนตำแหน่งประเภทบริหารตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการขึ้นไป ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป หรือข้าราชการตำรวจตำแหน่งตั้งแต่สารวัตรหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือข้าราชการทหารตำแหน่งตั้งแต่ผู้บังคับกองร้อยหรือเทียบเท่าขึ้นไป
เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ตำแหน่งใดหรือระดับใดจะมีหน้าที่และอำนาจตามที่ได้กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือจะต้องได้รับอนุมัติจากบุคคลใดก่อนดำเนินการ ให้เป็นไปตามที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกำหนดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ส. โดยทำเอกสารมอบหมายให้ไว้ประจำตัวเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผู้ได้รับมอบหมายนั้น
เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ผู้ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องแสดงเอกสารมอบหมายนั้น ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง
ในการปฏิบัติการตามมาตรานี้ ให้กรรมการ ป.ป.ส. เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรานี้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี โดยให้รายงานข้อเท็จจริง ปัญหาอุปสรรค ปริมาณการปฏิบัติงานตามงบประมาณและกองทุนประจำปี และผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานโดยละเอียด เพื่อให้คณะรัฐมนตรีเสนอรายงานดังกล่าวพร้อมข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
มาตรา ๑๑/๓* ในกรณีที่มีการยึดยาเสพติดตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น ไม่ว่าจะมีการฟ้องคดีต่อศาลหรือไม่ก็ตาม เมื่อได้มีการตรวจพิสูจน์ชนิดและปริมาณแล้วว่าเป็นยาเสพติด โดยบันทึกรายงานการตรวจพิสูจน์ไว้และให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีที่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ประเภท ๒ หรือประเภท ๓ หรือวัตถุออกฤทธิ์ที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ ให้กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายทำลาย หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ (๒) กรณีที่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือประเภท ๕ หรือสารระเหยที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ ให้พนักงานสอบสวนทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้
(๓) ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ยึดไว้ให้สถานตรวจพิสูจน์คืนพนักงานสอบสวน
การตรวจรับ การเก็บรักษา การทำลาย การนำไปใช้ประโยชน์ และการรายงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ส. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๑/๕* ในกรณีจำเป็นและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเอกสารหรือข้อมูลข่าวสารอื่นใด ซึ่งส่งทางไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการสื่อสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศใด ถูกใช้หรืออาจถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ซึ่งได้รับอนุมัติจากเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดเป็นหนังสือจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลอาญา เพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารดังกล่าวได้
การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลพิจารณาถึงผลกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิอื่นใด ประกอบกับเหตุผลและความจำป็น ดังต่อไปนี้
(๑) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดหรือจะมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
(๒) มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะได้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าว
(๓) ไม่อาจใช้วิธีการอื่นใดที่เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพมากกว่าได้
การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลสั่งอนุญาตได้คราวละไม่เกินเก้าสิบวัน โดยกำหนดเงื่อนไขใดๆก็ได้ และให้ผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารในสิ่งสื่อสารตามคำสั่งดังกล่าวจะต้องให้ความร่วมมือเพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรานี้ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ภายหลังที่มีคำสั่งอนุญาต หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าเหตุผลความจำเป็นไม่เป็นไปตามที่ระบุหรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ให้ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร เมื่อเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ได้ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว ให้รายงานการดำเนินการให้ศาลทราบ บรรดาข้อมูลข่าวสารที่ได้มาตามวรรคหนึ่ง ให้เก็บรักษาและใช้ประโยชน์ในการสืบสวนและใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีเท่านั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการ ป.ป.ส. กำหนด* โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๑ ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ซึ่งพนักงานสอบสวน ได้ยึดสิ่งของไว้ตามกฎหมายและอ้างว่าเป็นยาเสพติด ให้พนักงานสอบสวนส่งสิ่งของที่ยึดนั้นภายในสามวันทําการนับแต่เวลาที่พนักงานสอบสวนได้รับสิ่งของนั้นไว้เป็นของกลางในคดี เพื่อให้ผู้ชํานาญการพิเศษตรวจพิสูจน์และทําความเห็นเป็นหนังสือรวมไว้ในสํานวนการสอบสวน เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจําเป็นอย่างอื่นที่ไม่อาจส่งสิ่งของที่ยึดนั้นภายในกําหนดเวลาดังกล่าวได้ โดยให้บันทึกเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นที่ไม่อาจดําเนินการดังกล่าวไว้ในสํานวนการสอบสวนด้วย
มาตรา ๑๑/๗* การแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ต้องได้รับอนุมัติจากเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือผู้ที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมอบหมาย เว้นแต่กรณีที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้พนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีแล้วพนักงานอัยการเห็นควรแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดเพิ่มเติม ให้พนักงานอัยการเป็นผู้อนุมัติให้แจ้งข้อหาเพื่อดำเนินคดีตามมาตรานี้ และเมื่อดำเนินการตามที่ได้รับ อนุมัติแล้ว ให้พนักงานสอบสวนรายงานให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทราบทันที
การขออนุมัติ การอนุมัติ และการรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๑/๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ตามมาตรา ๑๑/๑ หรือมาตรา ๑๑/๒ ถ้าเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ได้ขอให้บุคคลใดช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ให้บุคคลนั้น มีอำนาจช่วยการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ได้
มาตรา ๑๑/๒* ในกรณีจำเป็นและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเสพยาเสพติด ในเคหสถาน สถานที่ใด ๆ หรือยานพาหนะ ให้กรรมการ ป.ป.ส. เลขาธิการคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. มีอ านาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้รับการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้น มีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่
วิธีการตรวจหรือทดสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการ ป.ป.ส. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๑/๖ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการตามมาตรา ๑๑/๑ ให้ถือว่ากรรมการ ป.ป.ส. เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจตามมาตรา ๑๑/๑ (๔) มีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร และให้มีอำนาจควบคุมผู้ถูกจับตามมาตรา ๑๑/๑ (๔) ซึ่งกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติดไว้เพื่อทำการสืบสวนสอบสวนได้เป็นเวลาไม่เกินสามวัน เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวหรือก่อนนั้นตามที่จะเห็นสมควร ให้ส่งตัวผู้ถูกจับไปยังพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ โดยมิให้ถือว่าการควบคุมผู้ถูกจับดังกล่าวเป็นการควบคุมของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การควบคุมผู้ถูกจับตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการ ป.ป.ส. กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๒ ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งจําเลยมีทนายความ ถ้าปรากฏว่าจําเลยคนใดจงใจไม่มาศาลหรือหลบหนี และมีความจําเป็นเพื่อมิให้พยานหลักฐานสูญหายหรือยากแก่การนํามาสืบในภายหลัง เมื่อศาลเห็นเป็นการสมควรก็ให้ศาลมีอํานาจสืบพยานหลักฐานลับหลังจําเลย แต่ต้องให้โอกาสทนายความของจําเลยที่จะถามค้านและนําสืบหักล้างพยานหลักฐานนั้นได้
มาตรา ๑๓ ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าจําเลยไม่ได้กระทําความผิดหรือคดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้นกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จําคุกตลอดชีวิตหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟ้งพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลยได้กระทําผิดจริง
มาตรา ๑๔ ให้จัดตั้งแผนกคดียาเสพติดขึ้นในศาลอุทธรณ์ โดยให้มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่มีการอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นและตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๕ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๖ คดีอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นต่อศาลชั้นต้นในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้ อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นให้ คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง
เมื่อศาลชั้นต้นมีคําสั่งรับอุทธรณ์หรือเมื่อมีการยื่นคําร้องอุทธรณ์คําสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งอุทธรณ์หรือคําร้องเช่นว่านั้นพร้อมสํานวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งโดยเร็ว
มาตรา ๑๕/๑* ในกรณีที่ตามคำพิพากษาจำเลยต้องรับโทษจำคุกหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น และจำเลยไม่ได้ถูกคุมขัง จำเลยจะยื่นอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ มิฉะนั้นให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ทั้งนี้ ประธานศาลฎีกาอาจออกระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแสดงตนของจำเลยก็ได้
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่จำเลยได้รับการรอการลงโทษจำคุก หรือรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว
มาตรา ๑๖ คดีท่ีศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจําคุกตลอดชีวิตเมื่อไม่มีการอุทธรณ์คําพิพากษา ให้ศาลชั้นต้นส่งสํานวนและคําพิพากษาไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา ๒๔๕ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๗ ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยกระทําผิดหลายกรรมต่างกัน และกรรมใดกรรมหนึ่ง เป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หากมีการอุทธรณ์ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพร้อมความผิดอื่น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ และให้ศาลอุทธรณ์มีอํานาจพิจารณาพิพากษาในความผิดอื่นซึ่งมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดด้วย
มาตรา ๑๘ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งโดยมิชักช้า และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๙ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทําซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด
คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ในการกระทํากรรมอื่นซึ่งมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด คู่ความอาจฎีกาได้ภายใต้ บทบัญญัติว่าด้วยการฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๙ ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคําสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่งแล้ว คู่ความอาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้
เมื่อมีคําร้องขอตามวรรคหนึ่ง ศาลฎีกาอาจพิจารณารับฎีกาในปัญหาเรื่องหนึ่งเรื่องใดไว้วินิจฉัยก็ได้ หากเห็นว่าเป็นปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรจะได้วินิจฉัย
คดีที่ศาลฎีกามีคําสั่งไม่รับฎีกาไว้วินิจฉัย ให้เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์
หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําขอ ตลอดจนการพิจารณาและมีคําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ทั้งนี้ ในระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุเงื่อนเวลาของการสั่งไม่อนุญาตที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อการปฏิบัติตามมาตรา ๒๖๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ระเบียบตามวรรคสี่ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๑๙/๑* ให้นำความในมาตรา ๑๕/๑ มาใช้บังคับกับการยื่นคำขออนุญาตฎีกาและการฎีกาโดยอนุโลม
มาตรา ๒๐ การอุทธรณ์หรือฎีกาในศาลทหาร ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร