JURIST 101
มาตรา ๔๗ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๔
(๒) บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
(๓) รายงานสถานะการเงินและการจัดการกองทุนต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๙ ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนจำนวนห้าคนประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการเงิน การสังคมสงเคราะห์ และการประเมินผลด้านละหนึ่งคนและให้รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้นำมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน โดยอนุโลม
มาตรา ๕๐ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน
(๒) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ
(๓) เรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาประเมินผล
มาตรา ๕๑ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบดุลและบัญชีทำการส่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและรับรองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทำรายงานผลการสอบและรับรองบัญชีและการเงินของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี เพื่อให้คณะกรรมการเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
รายงานผลการสอบบัญชีตามวรรคสอง ให้รัฐมนตรีเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบและจัดให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
มาตรา ๕๒ ผู้ใดกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบสองปี และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงหนึ่งล้านสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำแก่บุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ไม่ถึงสิบแปดปีต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทำแก่บุคคลอายุไม่เกินสิบห้าปีหรือผู้มีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่แปดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดแสนบาทถึงสองล้านบาท
มาตรา ๕๒/๑ ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๖/๑ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาทต่อผู้เสียหายหนึ่งคน หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายสาหัสหรือ เป็นโรคร้ายแรงซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่แปดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ แปดแสนบาทถึงสองล้านบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษ จำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม เป็นกรณีที่ผู้บุพการี ให้ผู้สืบสันดานทำงานหรือให้บริการเพราะเหตุความยากจนเหลือทนทาน หรือเมื่อพิจารณาถึงสภาพความผิด หรือเหตุอันควรปรานีอื่นแล้ว ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ลงโทษผู้กระทำความผิดเลย ก็ได้
มาตรา ๕๓ นิติบุคคลใดกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือตามมาตรา ๖/๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำ ความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือ กระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษ ตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย*
มาตรา ๕๓/๑* ถ้าการกระทำผิดตามมาตรา ๕๒ หรือมาตรา ๕๓ วรรคสอง เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ
(๑) รับอันตรายสาหัส หรือเป็นโรคร้ายแรงซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่แปดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดแสนบาทถึงสองล้านบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
(๒) ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต
มาตรา ๕๓/๒* เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบกิจการ โรงงานหรือยานพาหนะ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งตามมาตรา ๑๖/๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๔ ผู้ใดขัดขวางการสืบสวน การสอบสวน การฟ้องร้อง หรือการดำเนินคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ เพื่อมิให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถ้าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) ให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้เสียหายหรือพยานเพื่อจูงใจให้ผู้นั้นไม่ไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือไม่ไปศาลเพื่อให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความ หรือเพื่อให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความอันเป็นเท็จ หรือไม่ให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความ ในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ใช้กำลังบังคับ ขู่เข็ญ ข่มขู่ ข่มขืนใจ หลอกลวง หรือกระทำการอันมิชอบประการอื่นเพื่อมิให้ผู้เสียหายหรือพยานไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือไม่ไปศาลเพื่อให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความ หรือเพื่อให้ผู้นั้นให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความอันเป็นเท็จ หรือไม่ให้ข้อเท็จจริงหรือเบิกความ ในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ เอาไปเสีย แก้ไข เปลี่ยนแปลง ปกปิด หรือซ่อนเร้น เอกสารหรือพยานหลักฐานใด ๆ หรือปลอม ทำ หรือใช้เอกสารหรือพยานหลักฐานใด ๆ อันเป็นเท็จในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) ให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่กรรมการ กรรมการ ปกค. อนุกรรมการ สมาชิกของคณะทำงาน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวน หรือเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือ
(๕) ใช้กำลังบังคับ ขู่เข็ญ ข่มขู่ ข่มขืนใจ หรือกระทำการอันมิชอบประการอื่นต่อกรรมการ กรรมการ ปกค. อนุกรรมการ สมาชิกของคณะทำงาน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ พนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวน เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๕ ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติตามหน้าที่หรือกฎหมาย
(๑) รู้ว่ามีการยื่นคำขอเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหรือข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๓๐ แล้วเปิดเผยแก่บุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องให้รู้ว่ามีหรือจะมีการยื่นคำขอเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารหรือข้อมูลข่าวสารดังกล่าวโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้ยื่นคำขอสูญเสียโอกาสที่จะได้มาซึ่งเอกสารหรือข้อมูลข่าวสารนั้น หรือ
(๒) รู้หรือได้มาซึ่งเอกสารหรือข้อมูลข่าวสารที่ได้มาตามมาตรา ๓๐ แล้วเปิดเผยแก่บุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องให้รู้เอกสารหรือข้อมูลข่าวสารดังกล่าว
มาตรา ๕๖ ผู้ใดกระทำการหรือจัดให้มีการกระทำการดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) บันทึกภาพ แพร่ภาพ พิมพ์รูป หรือบันทึกเสียง แพร่เสียงหรือสิ่งอื่นที่สามารถแสดงว่าบุคคลใดเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ทั้งนี้ ไม่ว่าขั้นตอนใด ๆ
(๒) โฆษณาหรือเผยแพร่ข้อความ ซึ่งปรากฏในทางสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรือในทางพิจารณาคดีของศาลที่ทำให้บุคคลอื่นรู้จักชื่อตัว ชื่อสกุลของผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์หรือบุคคลในครอบครัวผู้เสียหายนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยสื่อสารสนเทศประเภทใด
(๓) โฆษณาหรือเผยแพร่ข้อความ ภาพหรือเสียง ไม่ว่าโดยสื่อสารสนเทศประเภทใด เปิดเผยประวัติ สถานที่อยู่ สถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษาของบุคคลซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การกระทำที่ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อประโยชน์ของทางราชการในการคุ้มครองหรือช่วยเหลือผู้เสียหาย หรือผู้เสียหายยินยอมโดยบริสุทธิ์ใจ
มาตรา ๕๖/๑ ผู้ใดเป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขังจัดให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ ซึ่งบุคคลอายุไม่เกินสิบห้าปี ให้ทำงาน หรือให้บริการที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงและมีผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจ การเจริญเติบโต หรือพัฒนาการ หรือในลักษณะหรือในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของบุคคลนั้น หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปีและปรับไม่เกินสี่แสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่ผู้บุพการีให้ผู้สืบสันดานทำงานหรือให้บริการเพราะเหตุความยากจนเหลือทนทาน หรือเมื่อพิจารณาถึงสภาพความผิด หรือเหตุอันควรปรานีอื่นแล้วศาลจะไม่ลงโทษผู้กระทำความผิดเลยก็ได้
มาตรา ๕๗ ให้โอนเงินทุนสงเคราะห์เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ว่าด้วยการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินสำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาเป็นทุนประเดิมแก่กองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวง
กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในบทนิยาม คำว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่” ในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ
(๒) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๓) เคยปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๔) เป็นผู้มีความประพฤติเหมาะสมในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(๕) ผ่านการอบรมการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ตามหลักสูตรที่ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กำหนดและผ่านการประเมินจากคณะกรรมการประเมินที่ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แต่งตั้ง สำหรับผู้มีประสบการณ์ทำงานเป็นที่ประจักษ์ ไม่ต้องผ่านการอบรม แต่ต้องผ่านการประเมินตามระเบียบที่ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กำหนด
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อิสสระ สมชัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๒๓ ก หน้า ๒๒ วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๒)
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ว่าด้วยการจดทะเบียนองค์กรเอกชนด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์พ.ศ. ๒๕๕๒
เพื่อให้องค์กรเอกชนที่มีการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ได้รับการสนับสนุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ (๖) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ว่าด้วยการจดทะเบียนองค์กรเอกชนด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๒”
ข้อ ๒* ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
*ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖ ตอน ๗๐ พิเศษ ง หน้า ๑๕ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“องค์กรเอกชน” หมายความว่า องค์กรที่มิใช่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรอื่นของรัฐ ซึ่งไม่ได้แสวงหากำไร และมีการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ และให้รวมถึงมูลนิธิ สมาคม ที่จดทะเบียนตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตามกฎหมายอื่น
“การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์” หมายความว่า การดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เช่น การป้องกัน การคุ้มครองช่วยเหลือ การให้ที่พัก อาหาร การรักษาพยาบาล การบำบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ การดำเนินคดีและการบังคับใช้กฎหมาย การส่งกลับและคืนสู่สังคม ความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในด้านอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์กำหนด เป็นต้น
“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
“ปลัดกระทรวง” หมายความว่า ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ข้อ ๔ องค์กรเอกชนใดมีความประสงค์ที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนองค์กรเอกชนด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(๑) จะต้องดำเนินกิจการและมีผลงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ต่อเนื่องจนถึงวันยื่นคำขอไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๒) มีที่ทำการตั้งอยู่ในท้องที่ที่จะยื่นคำขอไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๓) มีบุคลากร หรืออาสาสมัครในการปฏิบัติงาน หรือมีที่ปรึกษาที่มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม หรือแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
(๔) มีแผนงาน โครงการ และกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการป้องกัน ปราบปราม หรือแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างชัดเจน
(๕) ผู้บริหารองค์กรเอกชน ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย ไม่เป็นบุคคลล้มละลายและไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำด้วยความประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ข้อ ๕ การยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ตามระเบียบนี้ ให้ผู้บริหารองค์กร หรือผู้ได้รับมอบฉันทะจากองค์กรเอกชนยื่นคำขอตามแบบท้ายระเบียบนี้ พร้อมแนบเอกสารและหลักฐานประกอบการพิจารณา ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้บริหารองค์กรที่ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาตราสารจดทะเบียนมูลนิธิ สมาคม หรือสำเนาข้อบังคับ ระเบียบขององค์กรเอกชนซึ่งผู้บริหารองค์กร หรือผู้ซึ่งได้รับมอบฉันทะให้คำรับรอง
(๓) รายนามคณะกรรมการหรือคณะผู้บริหารองค์กร
(๔) แผนงานโครงการขององค์กรเอกชนที่จะดำเนินการ
(๕) ผลการดำเนินงานขององค์กรเอกชนในระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งให้ยื่นคำขอด้วยตนเอง หรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก็ได้
ข้อ ๖ การยื่นคำขอในส่วนภูมิภาคให้ยื่นคำขอที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดที่องค์กรเอกชนนั้นมีสถานที่ทำการตั้งอยู่ และให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิจารณาเสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่ออนุมัติให้จดทะเบียน แล้วรายงานผลให้ปลัดกระทรวงทราบ
ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นคำขอต่อสำนักงาน เพื่อพิจารณาเสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงเพื่ออนุมัติให้จดทะเบียน
ข้อ ๗ ในกรณีองค์กรเอกชนใดที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์แล้ว ให้สำนักงาน หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ที่รับคำขอออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้ให้แก่องค์กรเอกชนนั้น
หลักเกณฑ์การขอรับการช่วยเหลือจากกองทุนเพื่อการป้องกันละปราบปรามการค้ามนุษย์ให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และอนุมัติการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
องค์กรเอกชน ตามวรรคหนึ่งอาจได้รับการพิจารณาส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจการขององค์กรจากกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
ข้อ ๘ ในกรณีที่ผู้รับคำขอ เห็นว่าการยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอโดยไม่ชักช้า
ในกรณีที่ไม่ได้รับการอนุมัติให้จดทะเบียนตามระเบียบนี้ ให้แจ้งเหตุผลให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วนแล้ว
ข้อ ๙ ให้ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจเข้าไปดูแล ให้คำแนะนำ แก่องค์กรเอกชนที่จดทะเบียนตามระเบียบนี้ซึ่งรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ไว้ดูแล ในเรื่องความปลอดภัย การคุ้มครองดูแล และสภาพความเป็นอยู่ของผู้เสียหาย
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีการเลิกกิจการหรือเปลี่ยนชื่อองค์กรเอกชนใด ให้องค์กรเอกชนนั้นแจ้งต่อสำนักงานที่รับจดทะเบียน เพื่อให้มีการแก้ไขทะเบียนรายชื่อต่อไป
ข้อ ๑๑ องค์กรเอกชนใดขาดคุณสมบัติ ให้ผู้อนุมัติคำขอมีอำนาจเพิกถอนรายชื่อจากทะเบียนองค์กรเอกชน
ข้อ ๑๒ ให้สำนักงานทบทวนรายชื่อองค์กรเอกชนที่จดทะเบียน ทุกสองปี เพื่อเป็นข้อมูลในการประสานงานการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๓ ให้ปลัดกระทรวงรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจกำหนดแบบแนวปฏิบัติ รวมทั้งวินิจฉัยชี้ขาดในกรณีที่มีปัญหา หรือข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
แบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนองค์กรด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
ชื่อ (มูลนิธิ/สมาคม/องค์กรเอกชน).....................................................................................
ปีที่เริ่มก่อตั้ง..........................................................................................................................
สถานที่ตั้งสำนักงาน.............................................................................................................
โทรศัพท์........................................................โทรสาร...........................................................
วัตถุประสงค์ขององค์กร.......................................................................................................
................................................................................................................................................
รายชื่อคณะทำงาน/ที่ปรึกษา...............................................................................................
ผู้ประสานงาน...............................................โทรศัพท์..........................................................
แผนงาน/โครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์..................
................................................................................................................................................
ผลงานที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (โดยสรุป)....................................................................
................................................................................................................................................................................................................................................................................................
แหล่งเงินทุน..........................................................................................................................
................................................................................................................................................
ฐานะทางการเงิน/รายงานงบดุล.........................................................................................
................................................................................................................................................
กลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ...................................................................................................
................................................................................................................................................
พื้นที่ดำเนินการ.....................................................................................................................
(ลงชื่อ)....................................................ประธาน
(..................................................)
(ลงชื่อ)....................................................ผู้ยื่นคำขอ
(..................................................)
ตำแหน่ง..................................................................
วันที่........................................................................
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. ๒๕๖๕ มีผลบังคับใช้ โดยพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถูกกำหนดให้เป็นกฎหมายตามบัญชี ๑ ลำดับที่ ๙๑ ท้ายพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะต้องดำเนินการประกาศกำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. ๒๕๖๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนด เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม”
ข้อ ๒* ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต่อไปนี้ เป็นผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัยในความผิดทางพินัย ตามความในมาตรา ๕๗ มาตรา ๕๙ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๘ มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(๑) อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
(๒) รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
(๓) ผู้อํานวยการสํานักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ผู้อํานวยการสํานักคุ้มครองพันธุ์พืช ผู้อํานวยการสํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๑ - ๘ (๔) นักวิชาการเกษตร นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการโรคพืช นักกีฏวิทยา นิติกร ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการขึ้นไป
(๕) เจ้าพนักงานการเกษตร ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับอาวุโสขึ้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๑๘”
Unofficial Translation
Section 1. This Act is called the “Plant Variety Act B.E. 2518 (1975)”.
มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
Unofficial Translation
Section 2. This Act shall come into force from the day following its publication in the Government Gazette.