JURIST 101
มาตรา ๑๘ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งโดยมิชักช้า และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๙ คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทําซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด
คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ในการกระทํากรรมอื่นซึ่งมิใช่ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด คู่ความอาจฎีกาได้ภายใต้ บทบัญญัติว่าด้วยการฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๙ ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคําสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา ๑๘ วรรคหนึ่งแล้ว คู่ความอาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้
เมื่อมีคําร้องขอตามวรรคหนึ่ง ศาลฎีกาอาจพิจารณารับฎีกาในปัญหาเรื่องหนึ่งเรื่องใดไว้วินิจฉัยก็ได้ หากเห็นว่าเป็นปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรจะได้วินิจฉัย
คดีที่ศาลฎีกามีคําสั่งไม่รับฎีกาไว้วินิจฉัย ให้เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์
หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคําขอ ตลอดจนการพิจารณาและมีคําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ทั้งนี้ ในระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุเงื่อนเวลาของการสั่งไม่อนุญาตที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อการปฏิบัติตามมาตรา ๒๖๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ระเบียบตามวรรคสี่ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๑๙/๑* ให้นำความในมาตรา ๑๕/๑ มาใช้บังคับกับการยื่นคำขออนุญาตฎีกาและการฎีกาโดยอนุโลม
มาตรา ๒๐ การอุทธรณ์หรือฎีกาในศาลทหาร ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร
มาตรา ๒๒ ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด สําหรับฐานความผิดซึ่งต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจําคุกตลอดชีวิต ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทําความผิดมายังศาลภายในกําหนดสามสิบปีนับแต่วันกระทําความผิด เป็นอันขาดอายุความ
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทําความผิดมายังศาลแล้วผู้กระทําความผิดวิกลจริตและศาลสั่งงดการพิจารณาหรือหลบหนีจนเกินกําหนดตามวรรคหนึ่งแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา หรือนับแต่วันที่ผู้นั้นหลบหนี แล้วแต่กรณี ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน
มาตรา ๒๓ ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ประหารชีวิตหรือจําคุกตลอดชีวิตผู้ใด และผู้นั้นยังมิได้รับโทษหรือได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนเพราะหลบหนี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษเกินกําหนดเวลาสามสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาถึงที่สุดหรือนับแต่วันที่ผู้นั้นหลบหนี แล้วแต่กรณีเป็นอันล่วงเลยการลงโทษ จะลงโทษผู้นั้นมิได้
มาตรา ๒๔ บรรดาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ศาลนั้นมีอํานาจพิจารณาพิพากษาต่อไป และให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าคดีนั้นจะถึงที่สุด
กฎกระทรวง ว่าด้วยการแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิด ฐานสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือสมคบกันกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๑/๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑* การขออนุมัติแจ้งข้อหาในกรณีที่ศาลออกหมายจับแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบรายงานหัวหน้า พนักงานสอบสวนและให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนยื่นคำขออนุมัติแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดดังกล่าว ต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายโดยเร็ว
การขออนุมัติแจ้งข้อหาตามวรรคหนึ่ง หากเป็นกรณีที่เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เป็นผู้ดําเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานจนทราบรายละเอียดแห่งความผิดและรู้ตัวผู้กระท่าความผิด ให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. มีอํานาจยื่นคําขออนุมัติแจ้งข้อหาต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมาย ก่อนร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนต่อไป
*ข้อ ๑ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ว่าด้วยการแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทําความผิดฐานสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือสมคบกันกระทําความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๑๙ ก หน้า ๑๔ วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗
ข้อ ๒ คำขอตามข้อ ๑ ต้องระบุชื่อผู้กระทำความผิดซึ่งประสงค์จะขอแจ้งข้อหาให้ชัดแจ้ง พร้อมแนบเอกสารหรือหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สถานภาพส่วนบุคคลของผู้กระทำความผิด เช่น ประวัติบุคคลหรือประวัติอาชญากร
(๒) รายงานการสืบสวนพฤติการณ์สำคัญที่เป็นมูลเหตุให้ทำการสืบสวน ข่าวสาร แหล่งที่มา วันเวลาเริ่มสืบสวนพฤติการณ์ที่ผ่านมา และพฤติการณ์การกระทำความผิดในคดีนี้
(๓) พยานหลักฐานที่ยืนยันการกระทำความผิดในข้อหาที่จะขออนุมัติ
(๔) รายละเอียดในคดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด เช่น ข้อหาผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด
(๕) สำเนาหมายจับ
ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับกุมในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฐานอื่น หากพนักงาน สอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนเห็นว่าการกระทำของผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมในคดีนั้นเป็นความผิด ตามมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดด้วย ให้พนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบรายงานหัวหน้าพนักงานสอบสวนและให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนยื่นคำขออนุมัติแจ้งข้อหา แก่ผู้กระทำความผิดดังกล่าวต่อเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายโดยเร็ว
ให้นำความในข้อ ๒ มาใช้บังคับแก่การยื่นคำขออนุมัติแจ้งข้อหาตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
ข้อ ๔ ในกรณีที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีแล้ว ถ้าพนักงานอัยการเห็นควรแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดเพิ่มเติม ให้หัวหน้าพนักงานอัยการ หัวหน้าองค์คณะหรือหัวหน้าคณะทำงาน ซึ่งมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าพนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่ผู้กระทำความผิดดังกล่าว
คำสั่งของพนักงานอัยการตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการอนุมัติให้แจ้งข้อหาเพื่อดำเนินคดี ตามมาตรา ๑๑/๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔
ข้อ ๕ ในการพิจารณาคำขออนุมัติแจ้งข้อหาเพื่อดำเนินคดีนั้น เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่ เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายอาจเรียกให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้ทำการสืบสวน พนักงาน สอบสวน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติม หรือแต่งตั้งบุคคลหรือ คณะบุคคล หรืออาจเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคล เพื่อพิจารณา ตรวจสอบกลั่นกรองพยานหลักฐานในคำขออนุมัติแจ้งข้อหาแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๕ หรือ มาตรา ๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด เพื่อประกอบการพิจารณาได้
ข้อ ๖ ให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายพิจารณาคำขออนุมัติ แจ้งข้อหาให้แล้วเสร็จภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นจะขยายเวลาออกไป อีกได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินห้าวันทำการ โดยต้องบันทึกเหตุจำเป็นดังกล่าวไว้ด้วย เมื่อเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายได้มีคำสั่งประการใดแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขออนุมัติทราบโดยเร็วหรือจะให้ผู้ขออนุมัติลงลายมือชื่อรับทราบในคำสั่งนั้นก็ได้
ข้อ ๗ ในกรณีที่ได้รับอนุมัติให้แจ้งข้อหาจากเลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมาย ให้พนักงานสอบสวนรีบดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัติ แล้วรายงานการแจ้งข้อหาให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายทราบโดยเร็ว ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามวันนับแต่วันที่ ได้ดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัตินั้น
ในกรณีไม่สามารถดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัติได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง อนุมัติ ให้รายงานคดีตามคำสั่งอนุมัติให้แจ้งข้อหาให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายทราบโดยเร็ว ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามวันนับแต่วันที่ครบกำหนดดังกล่าว
ในกรณีได้รับอนุมัติให้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมจากพนักงานอัยการ ให้พนักงานสอบสวนรายงาน การแจ้งข้อหาพร้อมทั้งส่งสำเนาสำนวนคดีดังกล่าวให้เลขาธิการ ป.ป.ส. หรือผู้ที่เลขาธิการ ป.ป.ส. มอบหมายทราบทันที
ข้อ ๘ ในการรายงานตามข้อ ๗ ให้รายงานด้วยว่ามีหรือได้รับข้อมูลหรือหลักฐานเกี่ยวกับ ทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด ที่ถูกจับกุม หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดดังกล่าวด้วยหรือไม่อย่างใด
การรายงานข้อมูลหรือหลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ทุกครั้งที่ได้รับ ข้อมูลหรือหลักฐาน
ข้อ ๙ คำขออนุมัติ หนังสือแจ้งคำสั่งอนุมัติ และการรายงานตามกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไป ตามแบบที่สำนักงาน ป.ป.ส. กำหนด การขออนุมัติ การอนุมัติ และการรายงานตามกฎกระทรวงนี้อาจดำเนินการโดยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ได้ตามที่เลขาธิการ ป.ป.ส. ประกาศกำหนด
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
สมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
มาตรา ๑* ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญนี้มีสามชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๒* ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลแพ่งธนบุรี ศาลแพ่งพระโขนง ศาลแพ่งมีนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาตลิ่งชัน ศาลอาญาธนบุรี ศาลอาญาพระโขนง ศาลอาญามีนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น
มาตรา ๓* ศาลชั้นอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นอุทธรณ์
มาตรา ๔* ศาลฎีกา ศาลชั้นอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น อาจแบ่งส่วนราชการเป็นแผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และจะให้มีอำนาจในคดีประเภทใดหรือคดีในท้องที่ใด ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของแต่ละศาลนั้นแยกต่างหากโดยเฉพาะก็ได้ โดยให้ออกเป็นประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
ศาลชั้นต้นอาจเปิดทำการสาขาในท้องที่อื่นใด และจะให้มีอำนาจในคดีประเภทใดหรือคดีในท้องที่ใด ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลนั้นแยกต่างหากโดยเฉพาะก็ได้ โดยให้ออกเป็นประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
การกำหนดและการเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของศาล ให้ออกเป็นประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมที่ออกตามความในมาตรานี้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๕* ให้ประธานศาลฎีกามีหน้าที่วางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรมเพื่อให้กิจการของศาลยุติธรรมดำเนินไปโดยเรียบร้อยและเป็นระเบียบเดียวกัน และให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในการปฏิบัติตามระเบียบวิธีการต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง
มาตรา ๖ ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีอำนาจเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้ง การยุบเลิก หรือการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลของศาลยุติธรรมต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงจำนวน สภาพ สถานที่ตั้ง และเขตอำนาจศาลตามที่จำเป็นเพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปโดยเรียบร้อยตลอดราชอาณาจักร
มาตรา ๗ ให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดจำนวนผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมให้เหมาะสมตามความจำเป็นแห่งราชการ
มาตรา ๘ ให้มีประธานศาลฎีกาประจำศาลฎีกาหนึ่งคน ประธานศาลอุทธรณ์ประจำศาลอุทธรณ์หนึ่งคน ประธานศาลอุทธรณ์ภาคประจำศาลอุทธรณ์ภาค ศาลละหนึ่งคน และให้มีอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลแพ่งธนบุรี ศาลแพ่งพระโขนง ศาลแพ่งมีนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาตลิ่งชัน ศาลอาญาธนบุรี ศาลอาญาพระโขนง ศาลอาญามีนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น ศาลละหนึ่งคน กับให้มีรองประธานศาลฎีกาประจำศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ประจำศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาคประจำศาลอุทธรณ์ภาค และรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลแพ่งธนบุรี ศาลแพ่งพระโขนง ศาลแพ่งมีนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาตลิ่งชัน ศาลอาญาธนบุรี ศาลอาญาพระโขนง ศาลอาญามีนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น ศาลละหนึ่งคน และในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในทางราชการ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกาจะกำหนดให้มีรองประธานศาลฎีกามากกว่าหนึ่งคนแต่ไม่เกินหกคน รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น มากกว่าหนึ่งคนแต่ไม่เกินสามคนก็ได้*
เมื่อตำแหน่งประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่างลง หรือเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทำการแทน ถ้ามีรองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหลายคน ให้รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับเป็นผู้ทำการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นตามวรรคสอง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับเป็นผู้ทำการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคสาม ประธานศาลฎีกาจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้
ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะเป็นผู้ทำการแทนในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้
มาตรา ๙ ในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ศาลละหนึ่งคน
เมื่อตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงว่างลง หรือเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับในศาลนั้นเป็นผู้ทำการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคสอง ประธานศาลฎีกาจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้
ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะเป็นผู้ทำการแทนในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่มีการแบ่งส่วนราชการในศาลฎีกา ศาลชั้นอุทธรณ์ หรือศาลชั้นต้นออกเป็นแผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกหรือผู้พิพากษาหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น แผนกหรือหน่วยงานละหนึ่งคน*
เมื่อตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกหรือผู้พิพากษาหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามวรรคหนึ่งว่างลง หรือเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในแผนกหรือในหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นนั้นเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในแผนกหรือในหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับในแผนกหรือในหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นนั้นเป็นผู้ทำการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคสอง ประธานศาลฎีกาจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้
ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะทำการแทนในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้
มาตรา ๑๑ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ต้องรับผิดชอบในราชการของศาลให้เป็นไปโดยเรียบร้อย และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑)* นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีใด ๆ ของศาลนั้น หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้วมีอำนาจทำความเห็นแย้งได้
(๒) สั่งคำร้องคำขอต่าง ๆ ที่ยื่นต่อตนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
(๓) ระมัดระวังการใช้ระเบียบวิธีการต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปโดยเร็ว
(๔) ให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในศาลนั้นในข้อขัดข้องเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา
(๕) ร่วมมือกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในบรรดากิจการอันเกี่ยวกับการจัดวางระเบียบและการดำเนินการงานส่วนธุรการของศาล
(๖) ทำรายงานการคดีและกิจการของศาลส่งตามระเบียบ
(๗) มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
ให้รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น มีอำนาจตาม (๒) ด้วย และให้มีหน้าที่ช่วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น แล้วแต่กรณี ตามที่ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมอบหมาย